วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7


ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบกลางภาค




วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

การเรียนการสอน

พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
-การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
-ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
-ด้านชีวภาพ
-สภาพแวดล้อมก่อนคลอด
-กระบวนการคลอด
-สภาพแวดล้อมหลังคลอด

สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.โรคทางพันธุกรรม
2.โรคทางระบบประสาท
3.การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์
4.ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบิลิซึม
5.ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
6.สารเคมี
7.การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร

อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

1.มีพัฒนาการที่ล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
2.ปฏิกิริยาสะท้อนไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป

สะท้อนสิ่งที่ได้จากการเรียนการสอน
  เด็กจะมีพัฒนาการที่ต่อเนื่องและพัฒนาการของเด็กแต่ล่ะคนจะไม่เหมือนกัน ผู้เป็นแม่ควรดูแลเด็กตั้งแต่ในครรภ์ เด็กควรได้รับการดูแลที่ดี



วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากตรงกับวันพ่อ





ดอกไม้ประจำวันพ่อ






วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

การเรียนการสอน

6. เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  -เด็กที่ควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้
  -เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
  -ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย

เด็กสมาธิสั้น
-เด็กซนไม่อยู่นิ่ง ซนมากผิดปกติ เคลื่อนไหวตลอดเวลา
-เด็กบางคนมีปัญหาเรื่องสมาธิบกพร่อง อาการหุนหันพลันแล่น

7.เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
-เรียก ย่อๆว่า L.D.
-เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
-มีปัญหาการใช้ภาษา หรือการพูด การเขียน
-ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการหรือความบกพร่องทางร่างกาย

8.เด็กออทิสติก
-เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ออทิซึ่ม
-เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อสารความหมาย
-เด็กออทิสติกแต่ล่ะคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
-ติดตัวไปตลอดชีวิต

9.เด็กพิการซ้ำซ้อน
-เด็กที่มีความบกพร่องมากกว่า 1 อย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาในการเรียนรู้อย่างมาก
-เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
-เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
-เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

สะท้อนสิ่งที่ได้จากการเรียนการสอน
รู้และเข้าใจเด็กที่มีความต้องการพิเศษในแต่ละประเภท 


สรุปโทรทัศน์ครู



วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

การเรียนการสอน

4.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
แบ่งได้ 2 แบบคือ
  1.ด้านร่างกาย
เด็กซี พี
-เกิดจากการเป็นอัมพาทของสมอง
-การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการช้า
-อัมพาตเกร็ง สูญเสียการทรงตัว
เด็กโปลิโอ
-มีอาการกล้ามเนื้อลีบ เล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
-ยืนไม่ได้หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินด้วยอุปกรณ์เสริม
 2.ด้านสุขภาพ
-ลมบ้าหมู
-ชักในช่วงเวลาสั้นๆ
-ชักแบบรุนแรง
-อาการชักแบบ Partial  complex
-อาการไม่รู้สึกตัว

5.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
    เด็กที่พูดไม่ชัด ออกเสียงผิดเพี้ยน อวัยวะมี่ใช้ในการพูดไม่สามารถเป็นไปตามลำดับขั้นตอน การใช้อวัยวะเพื่อพูดไม่เป็นดั่งตั้งใจซึ่งเกิดจาก
1.ความผิดปกติด้านการออกเสียง
2.ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูดเช่น พูดรัว พูดติดอ่าง
3.ความผิดปกติด้านเสียง 
4.ความผิดปกติทางการพูดและภาษา

สะท้อนสิ่งที่ได้จากการเรียนการสอน
   
    ทำให้เรารู้จักเด็กพิเศษมากยิ่งขึ้น  และทำให้รู้ถึงอาการชักต่างๆ 
ทำให้แยกประเภทเด็กพิเศษได้



วัน พฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

การเรียนการสอน

ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

 1. ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษเหล่านี้ว่า เด็กพิการ ดังนั้นเด็กที่มีความต้องการพิเศษจึงหมายถึง ผู้ที่มีความผิดปกติ ผู้ที่มีความบกพร่อง หรือ ผู้ที่มีการสูญเสียสมรรถภาพอาจเป็นความผิดปกติ 
2. ทางการศึกษา ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า หมายถึงเด็กที่มี ความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการคือศึกษาให้ ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตรกระบวนการที่ใช้และการประเมินผล

ประเภทของเด็กพิเศษแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ 

1.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูงเรียกโดยทั่วๆไปว่า เด็กปัญญาเลิศ
2.เด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง  แบ่งออกเป็น 9 ประเภท 
    1.เด็กบกพร่องทางสติปัญญา
    2.เด็กบกพร่องทางการได้ยิน
    3.เด็กบกพร่องทางการมองเห็น
    4.เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
    5.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
    6.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
    7.เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้
    8.เด็กออทิสติก
    9.เด็กพิการซ้ำซ้อน
1.เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
         เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ ภาษาและสติปัญญาล่าช้ากว่าเด็กปกติ เมื่อวัดสติปัญญาโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานแล้วปรากฎว่ามีสติปัญญาต่ำกว่าเด็กปกติโดยทั่วไป
         เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาแบ่งตามระดับความรุนแรงออกเป็น 4 ระดับคือ
          1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับน้อย (เชาว์ปัญญา 50-70) เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่เรียนหนังสือได้
          2. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง (เชาว์ปัญญา 35-49) เป็นเด็กที่พอฝึกอบรมได้
          3. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรง (เชาว์ปัญญา20-34) เป็นเด็กที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์และได้รับการดูแลที่เหมาะสม
          4. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรงมาก(เชาว์ปัญญาต่ำกว่า 20) เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่มีความจำกัดเฉพาะด้านต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์และได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
          เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินไม่สามารถรับฟังเสียงได้เหมือนเด็กปกติ ซึ่งอาจเป็นเด็กหูตึงหรือเด็กหูหนวกก็ได้ เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมี 2 ประเภท คือ
          1.เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่มีการได้ยินเหลืออยู่บ้าง สามารถได้ยินได้ไม่ว่าจะใส่เครื่องช่วยฟัง หรือไม่ก็ตามเด็กหูตึงจะมีระดับการได้ยินในหูที่ดีกว่าอยู่ระหว่าง 26-89เดซิเบล ซึ่งคนปกติจะมีระดับการได้ยินอยู่ระหว่าง0-25 เดซิเบล
          2. เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินในหูข้างที่ดีตั้งแต่ 90 เดซิเบลขึ้นไปไม่สามารถได้ยินเสียงพูดดัง อาจรับรู้เสียงบางเสียงได้จากการสั่นสะเทือน
3. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
         เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึงเด็กที่มองไม่เห็น (ตาบอดสนิท) หรือพอเห็นแสงเลือนรางและมีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง โดยมีความสามารถในการเห็นได้ไม่ถึงหนึ่งส่วนสองของคนสายตาปกติ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
         1.1 เด็กตาบอด หมายถึง เด็กที่มองไม่เห็น หรืออาจจะมองเห็นบ้างไม่มากนัก แต่ไม่สามารถใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ในการเรียนได้
         1.2 เด็กสายตาเลือนลาง หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา สามารถมองเห็นแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
สะท้อนสิ่งที่ได้จากการเรียนการสอน
    เด็กทุกคนที่เกิดมาไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติหรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ควรจะได้รับการจัดการศึกษาที่เท่าเทียมกันเราไม่ควรที่จะปิดกั้นโอกาสเด็กเหล่านี้ อนาคตเราเป็นครูเราควรที่จะเปิดใจและให้โอกาส ไม่ควรไปซ้ำเติม




วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วัน พฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

การเรียนการสอน

     วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนการสอนจึงมาการปฐมนิเทศก่อนเรียน  แจกใบบันทึกการเข้าเรียนการเข้าเรียนทุกครั้งควรแต่งตัวให้เรียบร้อย  และบอกรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับวิชาที่จะเรียน ว่าจะมีงานอะไรบ้าง  และให้นักศึกษาทำแผนผังเกี่ยวกับเด็กพิเศษ

สะท้อนสิ่งที่ได้จากการเรียนการสอน

  ได้ทบทวนความรู้เดิมที่มีแก่เด็กพิเศษ


สรุปเกี่ยวกับเด็กพิเศษ