วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วัน พฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

การเรียนการสอน

ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

 1. ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษเหล่านี้ว่า เด็กพิการ ดังนั้นเด็กที่มีความต้องการพิเศษจึงหมายถึง ผู้ที่มีความผิดปกติ ผู้ที่มีความบกพร่อง หรือ ผู้ที่มีการสูญเสียสมรรถภาพอาจเป็นความผิดปกติ 
2. ทางการศึกษา ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า หมายถึงเด็กที่มี ความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการคือศึกษาให้ ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตรกระบวนการที่ใช้และการประเมินผล

ประเภทของเด็กพิเศษแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ 

1.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูงเรียกโดยทั่วๆไปว่า เด็กปัญญาเลิศ
2.เด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง  แบ่งออกเป็น 9 ประเภท 
    1.เด็กบกพร่องทางสติปัญญา
    2.เด็กบกพร่องทางการได้ยิน
    3.เด็กบกพร่องทางการมองเห็น
    4.เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
    5.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
    6.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
    7.เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้
    8.เด็กออทิสติก
    9.เด็กพิการซ้ำซ้อน
1.เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
         เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ ภาษาและสติปัญญาล่าช้ากว่าเด็กปกติ เมื่อวัดสติปัญญาโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานแล้วปรากฎว่ามีสติปัญญาต่ำกว่าเด็กปกติโดยทั่วไป
         เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาแบ่งตามระดับความรุนแรงออกเป็น 4 ระดับคือ
          1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับน้อย (เชาว์ปัญญา 50-70) เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่เรียนหนังสือได้
          2. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง (เชาว์ปัญญา 35-49) เป็นเด็กที่พอฝึกอบรมได้
          3. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรง (เชาว์ปัญญา20-34) เป็นเด็กที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์และได้รับการดูแลที่เหมาะสม
          4. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรงมาก(เชาว์ปัญญาต่ำกว่า 20) เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่มีความจำกัดเฉพาะด้านต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์และได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
          เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินไม่สามารถรับฟังเสียงได้เหมือนเด็กปกติ ซึ่งอาจเป็นเด็กหูตึงหรือเด็กหูหนวกก็ได้ เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมี 2 ประเภท คือ
          1.เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่มีการได้ยินเหลืออยู่บ้าง สามารถได้ยินได้ไม่ว่าจะใส่เครื่องช่วยฟัง หรือไม่ก็ตามเด็กหูตึงจะมีระดับการได้ยินในหูที่ดีกว่าอยู่ระหว่าง 26-89เดซิเบล ซึ่งคนปกติจะมีระดับการได้ยินอยู่ระหว่าง0-25 เดซิเบล
          2. เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินในหูข้างที่ดีตั้งแต่ 90 เดซิเบลขึ้นไปไม่สามารถได้ยินเสียงพูดดัง อาจรับรู้เสียงบางเสียงได้จากการสั่นสะเทือน
3. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
         เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึงเด็กที่มองไม่เห็น (ตาบอดสนิท) หรือพอเห็นแสงเลือนรางและมีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง โดยมีความสามารถในการเห็นได้ไม่ถึงหนึ่งส่วนสองของคนสายตาปกติ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
         1.1 เด็กตาบอด หมายถึง เด็กที่มองไม่เห็น หรืออาจจะมองเห็นบ้างไม่มากนัก แต่ไม่สามารถใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ในการเรียนได้
         1.2 เด็กสายตาเลือนลาง หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา สามารถมองเห็นแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
สะท้อนสิ่งที่ได้จากการเรียนการสอน
    เด็กทุกคนที่เกิดมาไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติหรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ควรจะได้รับการจัดการศึกษาที่เท่าเทียมกันเราไม่ควรที่จะปิดกั้นโอกาสเด็กเหล่านี้ อนาคตเราเป็นครูเราควรที่จะเปิดใจและให้โอกาส ไม่ควรไปซ้ำเติม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น